เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตวัคซีนโควิด-19 ประเภทต่างๆ
ในช่วงนี้ ที่เริ่มมีการนำเอาวัคซีนโควิด-19 ออกมาใช้ในวงกว้างในหลายๆ ประเทศแล้ว (ส่วนบ้านเรารอไปก่อน) เราลองมาทำความรู้จักเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตวัคซีนแบบต่างๆ กันดีกว่าครับ
**********
- วัคซีนคืออะไร
ก่อนจะอธิบายว่าวัคซีนแต่ละประเภททำมาจากอะไรกันบ้าง เรามาทำความรู้จักหลักการคร่าวๆ ของวัคซีนกันก่อน โรคที่เกิดจากไวรัสทุกโรคนั้น ไม่มียารักษา ที่เป็นเช่นนี้มีเหตุผลคร่าวๆ หลายประการ เนื่องจาก
1. ไวรัสนั้นไม่ได้มีชีวิตอยู่แล้ว จึงเป็นการยากที่จะฆ่าสิ่งที่ไม่ได้มีชีวิตตั้งแต่แรก และแม้ว่าเราจะสามารถ "ฆ่า" ไวรัสที่อยู่บนพื้นผิวได้ง่าย เช่นด้วยการล้างเปลือกไขมันออกไปด้วยสบู่ธรรมดา แต่เป็นการยากที่จะออกแบบยาฆ่าไวรัสที่ทำงานได้ในร่างกายมนุษย์โดยที่ไม่ได้ฆ่ามนุษย์ไปด้วย
2. ไวรัสนั้นต้องอาศัยภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในการเพิ่มจำนวน โดยเริ่มจากการจับเข้ากับตัวจับยึดที่เยื่อหุ้มเซลล์เพื่อฉีดสารพันธุกรรมลงไป จากนั้นจึงใช้สารพันธุกรรมเพื่อบังคับให้เซลล์ผลิตโปรตีนและเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรมซึ่งเป็นองค์ประกอบของไวรัส ก่อนที่จะระเบิดออกมาเป็นไวรัสจำนวนมากในภายหลัง ดังนั้นต่อให้เรามียา "ต้านไวรัส" ที่สามารถยับยั้งการทำงานของไวรัสในกระแสเลือดได้ แต่เราก็ไม่สามารถเข้าไปกำจัดไวรัสที่หลบเข้าไปอยู่ในเซลล์ของเรา เช่นเดียวกับยาต้านไวรัส HIV ที่ทำได้เพียงแค่กำจัดเชื้อที่หลุดออกมาจากเซลล์ แต่ก็เป็นยาที่ต้องกินไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิต และทำได้เพียงควบคุมจำนวนไวรัสให้อยู่ในปริมาณที่ต่ำ ไม่มีวันหายขาด
3. ไวรัสนั้นมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ต่างจากแบคทีเรียซึ่งมีองค์ประกอบใกล้เคียงกัน ดังนั้นยาที่มีผลต่อผนังเซลล์ของแบคทีเรียตัวหนึ่ง อาจจะมีผลกับแบคทีเรียที่ใกล้เคียงกัน จึงสามารถใช้เป็น "ยาปฏิชีวนะ" ที่สามารถกำจัดแบคทีเรียหลายๆ ชนิดไปพร้อมๆ กันได้ แต่ไวรัสนั้นมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ยาต้านไวรัสชนิดหนึ่งจึงมักจะไม่สามารถใช้กับโรคอื่นได้ จึงไม่ค่อยคุ้มทุนที่จะพัฒนายาต้านไวรัสขึ้นมา
แต่นอกไปจากนี้ สาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ไม่ค่อยมีใครผลิตยาต้านไวรัสก็คือ ปรกติแล้วโรคที่เกิดจากไวรัสก็จะหายไปด้วยตัวเอง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของเรานั้นสามารถที่จะตรวจพบโมเลกุลแปลกปลอมของไวรัส และออกแบบแอนติบอดี้เพื่อมาทำลายไวรัสนั้น และจะจดจำลักษณะนั้นเอาไว้ตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้คนที่เคยเป็นอีสุกอีใสไปแล้วจึงจะไม่กลับมาเป็นอีก
ดังนั้นแนวทางหลักๆ ในการรักษาโรคที่เกิดจากไวรัส เช่น ไข้หวัด ก็คือการประวิงอาการ และรักษาตามอาการ ประคับประคองร่างกายให้อยู่ได้นานพอ จนกว่าระบบภูมิคุ้มกันของเราจะออกแบบแอนติบอดี้และกำจัดไวรัสด้วยตัวมันเองได้สำเร็จ แค่นั้นก็เป็นอันเสร็จสิ้น
ซึ่งแม้กระทั่งโรค COVID-19 ทุกวันนี้เราก็ใช้หลักการในการรักษาเช่นเดียวกัน นั่นก็คือประคองอาการและยื้อชีวิตเอาไว้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 แต่แม้กระนั้นก็ตามในหลายๆ กรณี อาการที่เกิดขึ้นนั้นหนักเกินกว่าที่ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ทัน จึงเป็นเหตุให้เกิดผู้เสียชีวิต
ด้วยเหตุนี้จึงมีการผลิตวัคซีนขึ้นมา หลักการทำงานของวัคซีนก็คือ การนำสิ่งแปลกปลอมจากไวรัสมาใส่ให้กับตัวคนโดยตั้งใจ เพื่อให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสนั้นเอาไว้ก่อนที่จะต้องเจอกับไวรัสจริงๆ โดยหลักการแล้วเราสามารถไปเกลือกกลิ้งกับผู้ป่วยอีสุกอีใส เพื่อให้ร่างกายเราสร้างภูมิคุ้มกันต่ออีสุกอีใสได้ และเราก็จะไม่เป็นโรคนั้นอีกต่อไป แต่การได้รับเชื้อจริงนั้นก็นำมาเช่นกันด้วยความเสี่ยงที่อาจจะเสียชีวิตเพราะตัวโรคนั้นเสียเอง ในการผลิตวัคซีนเราจึงต้องการจะนำสารแปลกปลอมที่ปลอดภัยกว่าตัวโรคเสียเอง แต่ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อโรคที่ต้องการป้องกันได้
ซึ่งสำหรับโรค COVID-19 นั้น เป้าหมายสำคัญสำหรับวัคซีนส่วนมาก ก็คือส่วนของ spike protein ที่ล้อมรอบไวรัสโคโรนา และเป็นตัวที่ไปจับกับเซลล์ร่างกายของมนุษย์เพื่อเข้าไปจู่โจมภายในและแบ่งตัว เนื่องจากไวรัสต้องการใช้ spike protein นี้ในการเข้าไปในเซลล์ของมนุษย์ การที่เราสามารถกระตุ้นให้ร่างกายเกิด antibody ต่อ spike protein เหล่านี้จึงเป็นวิธีที่ดีในการออกแบบวัคซีน
ซึ่งกลไกและเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันดังกล่าว ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็นวิธีหลักๆ อยู่สี่วิธี
**********
1. Whole Virus
ในกรณีนี้จะแบ่งออกได้อีกเป็น live attenuated virus หรือไวรัสเชื้อเป็น ที่นำไวรัสมาทำให้อ่อนแรงลง ยังคงความสามารถในการแบ่งจำนวนได้อยู่ แต่ในอัตราที่ต่ำกว่าและไม่ทำให้เกิดโรค หรือสร้างความเสียหายให้กับร่างกายเท่าที่ควร อีกวิธีหนึ่งก็คือ inactivated virus ซึ่งได้จากการเอาไวรัสมาทำลายสารพันธุกรรม จึงเหลือแต่เปลือกเปล่าๆ ที่ไม่สามารถแบ่งจำนวนได้อีก
ข้อดีของสองวิธีนี้ก็คือ เนื่องจาก live attenuated virus ใช้ตัวเปลือกที่แท้จริงของไวรัสที่สามารถเพิ่มจำนวนได้ จึงสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ค่อนข้างดี เนื่องจากเป็นการจำลองการติดเชื้อไวรัสจริงๆ และมีองค์ประกอบของเปลือกไวรัสจริงทุกประการ และกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันนั้นเกี่ยวข้องกับเซลล์เม็ดเลือดขาวเช่นเดียวกับการติดเชื้อจริงๆ ในทุกกรณี ในขณะที่ inactivated virus นั้นแม้ว่าจะมีเปลือกสมบูรณ์ แต่ไม่สามารถแบ่งตัวได้จึงอาจจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในระดับที่ต่ำกว่า จึงมักจะมีการเพิ่ม adjuvant ลงไปด้วย นอกจากนี้วิธีนี้ยังสามารถผลิตได้ค่อนข้างง่าย เพียงการใช้ cell culture ไข่ไก่ ฯลฯ ในการเพิ่มจำนวนไวรัส จากนั้นไวรัสจำนวนมากจึงสามารถนำมาทำให้อ่อนแรงลงได้พร้อมๆ กัน
ส่วนข้อเสียหนึ่งของไวรัสนี้ ก็คือ live attenuated virus นั้นอาจจะไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการติดเชื้อรุนแรงได้ นอกไปจากนี้การนำเชื้อไวรัสที่สามารถแบ่งตัวและทำให้เกิดโรคได้จริงๆ มาทำเป็นวัคซีนนั้นก็นำมาซึ่งความเสี่ยงที่เชื้ออาจจะไม่ "ตายสนิท" และกลับกลายเป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคนั้นเสียเอง อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีในการผลิตไวรัสด้วยวิธีนี้นั้นเป็นโทคโนโลยีที่มีมานานแล้วตั้งแต่ยุคแรกๆ ของการทำวัคซีน เราจึงมีความเข้าใจในกระบวนการทำให้ไวรัสอ่อนแรงและการ inactivate ค่อนข้างดี โอกาสที่เชื้อเป็นจะกลับมาเป็นเชื้อเต็มรูปแบบจึงต่ำกว่าเมื่อก่อนเป็นอย่างมาก
โรคที่มีวัคซีนปัจจุบันที่ใช้วิธีนี้: โปลิโอ โรคหัด คางทูม ไข้เหลือง บาดทะยัก (แบคทีเรีย)
บริษัทที่กำลังผลิตวัคซีนโควิด-19 ด้วยวิธีนี้: Sinovac, Sinopharm, Beijing Institute
2. Protein Subunit
วิธีนี้ จะใช้เพียงโปรตีนบางส่วนที่เป็นส่วนประกอบของไวรัส ที่ต้องการให้เกิดภูมิคุ้มกัน ซึ่งสำหรับกรณีเชื้อ SARS-CoV-2 (ที่ทำให้เกิดโรค Covid-19) ก็มักจะเป็นส่วนของ spike protein โดยการสร้างส่วนของ spike protein ภายในห้องทดลอง แล้วฉีดเข้าไปเพื่อให้ร่างกายเกิดภูมิคุ้มกันแทน
ข้อดีของวิธีนี้ก็คือ ค่อนข้างปลอดภัย เนื่องจากสารแปลกปลอมนั้นเป็นเพียงโปรตีนส่วนเดียวของไวรัส จึงไม่มีโอกาสทำให้เกิดการติดเชื้อได้ เนื่องจากเราเลือกโปรตีนมาเพียงส่วนเดียว เราจึงสามารถเลือกและออกแบบเฉพาะส่วนที่ต้องการให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ จึงสามารถจำกัดผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้และปลอดภัยสำหรับผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง นอกจากนี้เนื่องจากตัววัคซีนเองนั้นมีแต่ส่วนของโปรตีน จึงค่อนข้างทนทานและอาจจะไม่ต้องใช้การจัดเก็บที่อุณหภูมิต่ำได้
แต่ข้อเสียของวิธีนี้ก็คือ การผลิตออกมาเพียงเฉพาะส่วนของโปรตีนบางส่วนนั้นอาจจะไม่กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันเท่าที่ควร จึงต้องมีการใส่ adjuvant ลงไป และอาจจะต้องใช้ booster shot อีกเข็มหนึ่ง การออกแบบโปรตีนที่ต้องการเลือกมาให้เกิดภูมิคุ้มกัน และเลือก adjuvant ให้เหมาะสมอาจจะต้องใช้เวลานาน และกระบวนการผลิตนั้นจะต้องอาศัยเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่นในการผลิตโปรตีนที่ต้องการ ซึ่งต้องอาศัยการตัดต่อพันธุกรรม และการควบคุมเซลล์ที่ทำการผลิตโปรตีนที่อาจจะมีขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อน
โรคที่มีวัคซีนปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยีนี้: ไวรัสตับอักเสบ B
บริษัทที่กำลังผลิตวัคซีนโควิด-19 ด้วยวิธีนี้: Novavax, Clover Biopharmaceuticals, Sanofi, GlaxoSmithKline
3. Viral Vector
อีกวิธีหนึ่งในการนำสารแปลกปลอมเข้าไปในร่างกายเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันก็คือ... การใส่สารพันธุกรรมลงไปให้ร่างกายของเราเป็นผู้ผลิตสารแปลกปลอมนั้นเอง ซึ่งเราสามารถทำได้เนื่องจากสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตบนโลกนั้นใช้สารพันธุกรรมเดียวกันทั้งหมด ต่างกันแค่เพียงลำดับพันธุกรรมเพียงเท่านั้น ซึ่งนี่เป็นวิธีที่ไวรัสสามารถบังคับให้เราผลิตเปลือกไวรัสให้เราได้นั่นเอง แต่ปัญหาอย่างหนึ่งของการใส่สารพันธุกรรมก็คือ สารพันธุกรรมนั้นมีขนาดโมเลกุลใหญ่เกินกว่าที่จะสามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปได้ก่อน
วิธี Viral Vector นี้จึงอาศัยกลไกหนึ่งในธรรมชาติที่เรารู้ว่าสามารถนำสารพันธุกรรมเข้าไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ นั่นก็คือ... ไวรัสนั่นเอง แต่อาศัยเปลือกของไวรัสชนิดอื่นเป็นตัวพาส่วนหนึ่งของสารพันธุกรรมที่สร้างโปรตีนเข้าไป เนื่องจากสารพันธุกรรมนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของไวรัส และเปลือกไวรัสที่ใช้นั้นเป็นไวรัสคนละชนิด จึงไม่มีความเสี่ยงที่ตัววัคซีนจะสามารถเพิ่มจำนวนจนทำให้เกิดโรคได้เสียเอง
ข้อดีของวิธีนี้ก็คือ เนื่องจากวิธีนี้มีกลไกในการติดเชื้อไวรัสครบทุกประการ ตั้งแต่การจับกับเยื่อหุ้มเซลล์ ไปจนถึงการผลิตโปรตีนออกมา จึงสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ค่อนข้างดี และเนื่องจากเปลือกไวรัสที่ใช้นั้นมักจะมาจากพวก adenovirus ที่ทำให้เกิดไข้หวัดธรรมดา เป็นตัวที่เรามีงานวิจัยมาพอสมควรและรู้จักได้ค่อนข้างดี บวกกับตัวไวรัสเองนั้นไม่มีสารพันธุกรรมที่สามารถทำให้เพิ่มจำนวนได้ จึงค่อนข้างปลอดภัย
ข้อเสียของวิธีนี้ เนื่องมาจากก่อนที่เซลล์จะสามารถผลิตโปรตีนที่ต้องการกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกัน เปลือก adenovirus จะต้องสามารถเข้าไปสู่ภายในเซลล์ได้เสียก่อน ดังนั้นสำหรับบางคนที่บังเอิญมีภูมิคุ้มกันต่อ adenovirus อยู่แล้วอาจจะกำจัดตัววัคซีนนี้ไปก่อนที่จะเกิดกระบวนการผลิต spike protein ได้ จึงทำให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร เรียกว่า "anti-vector immunity" ซึ่งอาจจะทำให้การฉีดเข็มที่สองของวัคซีนนี้ซับซ้อนไปอีก นอกไปจากนี้วิธีนี้ยังค่อนข้างมีข้อจำกันในการเพิ่มสเกลในการผลิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการผลิตไวรัสที่เป็นเปลือกนั้นจำเป็นจะต้องใช้เซลล์ที่ยึดติดกับ substrate ที่ค่อนข้างซับซ้อน
โรคที่มีวัคซีนปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยีนี้: อีโบล่า
บริษัทที่กำลังผลิตวัคซีนโควิด-19 ด้วยวิธีนี้: AstraZeneca, Johnson & Johnson, CanSino Biologics, U. of Oxford, Gamaleya Research Institute, Merck & Co.
4. mRNA
mRNA นั้นเป็นวัคซีนประเภทสารพันธุกรรม คล้ายๆ กับ viral vector ต่างกันตรงที่ว่ารหัสสารพันธุกรรมที่ผลิต spike protein นั้นจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของ mRNA (messenger RNA) ซึ่งเป็นขั้นตอนปรกติของการถอดรหัสพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตและไวรัสเพื่อเข้าไปสู่ขั้นตอนการผลิตโปรตีน mRNA นี้นั้นไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องกังวลในเรื่องของการเพิ่มจำนวน อย่างไรก็ตาม mRNA นั้นไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้เช่นเดียวกัน จึงจำเป็นต้องอาศัยกลไกในการลำเลียงเข้าไปในเซลล์ ซึ่งสำหรับเทคโนโลยีนี้นั้นมักจะนิยมการใช้พวกเปลือกไขมัน ที่สามารถรวมตัวกับเยื่อหุ้มเซลล์และนำ mRNA ภายในเข้าไปในเซลล์ได้
ข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดของวิธีนี้ ก็คือความรวดเร็วในการพัฒนา แทบจะทันทีที่รหัสพันธุกรรมของไวรัสชนิดใหม่ถูกถอดรหัสขึ้นมา เราสามารถที่จะเลือกรหัสพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง spike protein และออกแบบมาเป็นวัคซีนได้ สำหรับโรค COVID-19 นี้บริษัท Moderna สามารถนำวัคซีนชนิดนี้เข้าสู่ช่วง trial ได้ภายในเวลาเพียงสองเดือนหลังจากที่รหัสพันธุกรรมของ SARS-CoV-2 ได้ถูกตีพิมพ์ออกมา นอกจากนี้วิธีนี้ยังเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งในการผลิต เนื่องจากสารพันธุกรรมนั้นสามารถเพิ่มจำนวนได้โดยวิธีปฏิกิริยาทางเคมีทั่วๆ ไป โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยเซลล์ของสิ่งมีชีวิต และเนื่องจากวิธีนี้นั้นไม่มีส่วนประกอบใดๆ ที่มีชีวิต (หรือแบ่งตัวได้แบบสิ่งมีชีวิต) จึงมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ แต่เช่นเดียวกับวัคซีนประเภท protein subunit และ viral vector ที่มุ่งเพียงแต่จะนำ spike protein เข้าไปในร่างกาย
ข้อเสียของวิธีนี้ ก็คือตัว mRNA เองนั้นบอบบางเป็นอย่างมากและเสียสภาพได้ง่าย จึงต้องอาศัยการจัดเก็บที่อุณหภูมิต่ำมาก นอกจากนี้ วัคซีนชนิดนี้นั้นผลิตเพียงแค่ส่วนของ spike protein จึงอาจจะจำเป็นต้องมีตัว booster เพื่อกระตุ้นซ้ำอีกรอบหนึ่ง ทำให้ต้องได้รับโดสที่สอง และอีกข้อเสียหนึ่งก็คือเนื่องจากวิธีนี้นั้นเป็นวิธีที่ใหม่มาก จึงยังไม่เคยมีวัคซีนประเภทนี้ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการมาก่อน
โรคที่มีวัคซีนปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยีนี้: ยังไม่มี
บริษัทที่กำลังผลิตวัคซีนโควิด-19 ด้วยวิธีนี้: Moderna, BioNTech, Pfizer, CureVac
5. DNA Plasmid
วัคซีนประเภทสารพันธุกรรมที่กำลังมีการพัฒนาอีกอันหนึ่ง ก็คือใช้ DNA ที่อยู่ในรูปของ plasmid พวก plasmid นี้เป็น DNA ที่ขดเป็นวงและสามารถนำแทรกเข้าไปในสิ่งมีชีวิตได้ เราใช้เทคโนโลยีเดียวกันนี้ในการทำ gene therapy และนำยีนที่ต้องการเข้าไปในผู้ป่วยที่มีโรคทางพันธุกรรมบางกรณี ซึ่งเราสามารถนำมาดัดแปลงเพื่อใส่สารพันธุกรรมในการสร้าง spike protein เพื่อเป็นวัคซีนในลักษณะคล้ายกับ mRNA อย่างไรก็ตาม การนำพลาสมิดเข้าไปในเซลล์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และปัจจุบันสามารถทำได้โดยการ electroporation หรือใช้กระแสไฟฟ้าทำให้เซลล์เปิดให้ plasmid เข้าไปภายในเพื่อผลิต spike protein ได้
ข้อดี: ผลิตได้ง่าย เนื่องจากเป็นสารพันธุกรรม
ข้อเสีย: กระบวนการฉีดค่อนข้างซับซ้อน เนื่องจากต้องฉีดเข้าไปในกล้ามเนื้อและใช้เครื่องช๊อตไฟฟ้าควบคู่กันไป เนื่องจากกระบวนการช๊อตด้วยไฟฟ้านั้นยังไม่ผ่านการรับรอง จึงทำให้การผลิตวัคซีนชนิดนี้ค่อนข้างล่าช้าไปอีก นอกจากนี้การเพิ่มจำนวนของพลาสมิดนั้นต้องอาศัยแบคทีเรียในการเพิ่มจำนวน จึงค่อนข้างซับซ้อนกว่า นอกจากนี้ยังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ จึงมีความเข้าใจในกระบวนการค่อนข้างน้อย
โรคที่มีวัคซีนปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยีนี้: ยังไม่มี
บริษัทที่กำลังผลิตวัคซีนโควิด-19 ด้วยวิธีนี้: Inovio
**********
ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งหมดเหล่านี้เป็นเพียงหลักการทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน COVID-19 ที่กำลังมีการพัฒนาในปัจจุบัน ในความเป็นจริงนั้นมีปัจจัยอื่นที่ซับซ้อนกว่านี้อีกมาก ในการจะระบุว่าวัคซีนใดมีประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกัน หรือทำให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์มากที่สุด เช่น การเลือก adjuvant ให้เหมาะสม วิธีในการลำเลียงวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย ความเข้มข้นของโดสยา จำนวนโดสที่ได้รับ ฯลฯ ดังนั้นผลที่ได้จากการทดลองจริงจึงควรจะเป็นตัวเลขที่สำคัญที่สุด และตัวเลขเปอร์เซนต์นั้นอาจจะไม่ใช่ปัจจัยเพียงปัจจัยเดียวในการเลือกพิจารณาใช้ แต่เราอาจจะต้องพิจารณาถึงราคาที่ต้องจ่าย ผลข้างเคียง (และที่สำคัญที่สุด คือถึงเวลาเข้าจริงๆ แล้วเราจะเลือกอะไรได้ไหม?)
อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์ของโพสต์นี้เพียงต้องการจะอธิบายประกอบถึงหลักการทางเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ของการผลิตวัคซีนประเภทต่างๆ เผื่อบางทีเมื่อเราอ่านข่าวเกี่ยวกับวัคซีนตัวใหม่อีกตัวที่ใช้เทคโนโลยีหนึ่งในที่กล่าวไปแล้ว เราอาจจะเข้าใจอะไรเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับหลักการทำงานและข้อจำกัดของมัน
อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://www.biopharmadive.com/news/coronavirus-vaccine-pipeline-types/579122/
[2] https://www.gavi.org/vaccineswork/there-are-four-types-covid-19-vaccines-heres-how-they-work
「ยาปฏิชีวนะ แบคทีเรีย」的推薦目錄:
ยาปฏิชีวนะ แบคทีเรีย 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最讚貼文
*** ผู้ปกครอง”ต้อง”เข้าใจเรื่องยาฆ่าเชื้อ ***
ยาปฏิชีวนะ = ยาฆ่าเชื้อ = ยาแก้อักเสบ
ยาปฏิชีวนะ คือยาที่ใช้ ”ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย” เท่านั้น
มีชื่อเรียกหลายๆชื่อ แต่ความหมายเดียวกัน
.
ในร่างกายของเรานั้น
มีแบคทีเรียอาศัยอยู่มากมายนะคะ
ภาษาแพทย์เรียกว่า “เชื้อแบคทีเรียประจำถิ่น”
ที่ผิวหนัง ก็กลุ่มหนึ่ง
ที่ระบบทางเดินหายใจก็กลุ่มหนึ่ง
ระบบทางเดินอาหาร ก็กลุ่มหนึ่ง
ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้บางตัวก็ทำประโยชน์ให้กับร่างกาย
ที่ชัดเจนมากๆคือแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยสร้างวิตามิน
ร่วมกับภูมิคุ้มกันเพื่อกำจัดแบคทีเรียตัวร้ายๆ...เค้ามิตรแท้ของร่างกายเลย
.
แบคทีเรียบางตัวก็อาศัยอยู่ในตัวเราเพราะได้ประโยขน์ แต่ไม่ได้ทำอันตรายอะไร
บางตัวก็เป็นตัวโกง...รอวันเราอ่อนแอ ค่อยทำร้ายเรา (จะแอบอยู่ตามจุดต่างๆ)
นี่คือแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกายเราเป็นประจำนะคะ
.
แต่มีแบคทีเรียอีกจำพวกหนึ่ง
คือแบคทีเรียก่อโรคที่ไม่ได้อาศัยอยู่ประจำในร่างกาย
พวกนี้มักได้จากการติดต่อจากคนที่เป็นโรคเลย
ซึ่งเจอได้น้อยกว่าพวกแรกมาก
.
ทีนี้
เวลาเด็กเล็กเจ็บป่วย
ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส
ซึ่งกลไกของการฆ่าเชื้อไวรัสนั้น ต้องอาศัยความแข็งแรง
ของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเด็กเอง
ยาปฏิชีวนะ ไม่ได้ทำให้โรคที่เกิดจากไวรัสหายเร็วมากขึ้น
ในทางตรงกันข้าม...การกินยาปฏิชีวนะโดย*ไม่จำเป็น*
อาจไปทำร้ายแบคทีเรียที่เป็นเพื่อนๆที่อาศัยอยู่ในร่างกายของเรา
.
คุณแม่มักจะรู้จักยาชื่อ Amoxycillin (เดี๋ยวนี้อาจไปถึง Zithromax แล้ว)
เป็นยาที่ได้รับการจ่ายให้เด็กมากที่สุด
เพราะยาตัวนี้ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่บริเวณทางเดินหายใจ
เด็กๆนั้น ป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อยที่สุด
โรคที่ต้องเป็นกันทุกคนคือ หวัด ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส
แต่ก็มักจะได้ยา amoxycillin กลับมากิน
จนคุณแม่ อาจจะเข้าใจผิดไปแล้วว่า ถ้ามีน้ำมูก มีอาการเจ็บคอ
จะต้องได้ยาฆ่าเชื้อ....ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องทั้งหมดนะคะ
เวลาหมอเด็กสรุปว่าลูกเป็นหวัด
มักจะได้รับคำขอร้องว่า
คุณหมอลองดูคออีกทีได้มั้ยคะ...ว่าแดงมั้ย
(คำนี้..เป็นการส่งสัญญาณว่าคุณแม่อยากให้หมอจ่ายยาปฏิชีวนะ
หมอรู้ค่ะ..แต่หมอก็ยังจะยืนยันคำเดิม เพื่อประโยชน์ของตัวเด็กเอง)
.
หมอจะอธิบายผลเสียของการกินยาปฏิชีวนะ พร่ำเพรื่อ
ให้เข้าใจ เห็นภาพนะคะ
อย่างที่บอกว่าแบคทีเรีย ที่อยู่ในร่างกายเรามีหลายจำพวก
เหมือนในละครสมัยก่อน เป๊ะเลยค่ะ
พวกตัวดี นางเอก....ตายง่ายเหลือเกิน
เป็นพวกซื่อสัตว์ต่อเผ่าพันธุ์....ตายเป็นตาย
แต่ไม่ยอมปรับตัว...ไม่กลายพันธุ์
พวกแบคทีเรียตัวร้าย...เป็นนางร้ายสู้ชีวิต
ชีวิตเจอกับอะไรมามากมาย...ต้องปรับตัวเก่ง
.
มนุษย์ไม่รู้อิโหน่อิเหน่...กินยาปฏิชีวนะ
(คิดว่าจะช่วยให้หายคอแดง
และเปลี่ยนสีน้ำมูกจากเขียวเป็นขาว)
ผลคือ แบคทีเรียตัวดี...ตาย
ตัวร้าย...ตายบางส่วน ที่รอดได้ ปรับตัวให้แข็งแรงมากขึ้น
แล้วขยายเผ่าพันธุ์ที่แข็งแรงขึ้นนี้ในร่างกาย
ครั้งต่อไปที่ได้รับยาตัวเดิม
มันก็ไม่ตายแล้วค่ะ....นี่คือที่มาของปัญหาระดับโลก
คือ...เชื้อแบคทีเรียดื้อยา"เร็วกว่า"ที่มนุษย์จะคิดค้นยา
เพื่อฆ่ามันได้ทัน
.
ที่ร้ายไปกว่านั้น
สมมตินะคะ
เด็กที่มีเชื้อดื้อยาอยู่ในตัว
ไปแพร่กระจายเชื้อตัวนี้ให้กับเด็กคนอื่น
เด็กคนอื่นๆ ก็จะมีเชื้อร้ายที่แข็งแรงอยู่ในตัว
แม้ว่าเค้าจะไม่ได้กินยาปฏิชีวนะด้วยตัวเอง!!
คิดดูว่า หากแบคทีเรียตัวนั้นไปก่อโรคในเด็ก
แล้วมีภาวะติดเชื้อรุนแรง...เชื้อก็ดื้อยา
โอกาสรักษาให้หาย...น้อย
อันตรายมั้ยคะ
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว
.
ที่พูดมา....ไม่ได้หมายความว่า
ห้ามใช้ยาปฏิชีวนะในเด็กนะคะ
ใช้ได้ตาม “ข้อบ่งชี้” ที่ควรจะเป็น
แต่ที่ต้องออกมาให้ความรู้
เพราะประเทศของเรา เป็นประเทศที่ซื้อยาปฏิชีวนะได้
ตามร้านขายยาทั่วไป...มีเภสัชกรบ้าง ไม่มีบ้าง
ทุกคนก็จ่ายยาได้...จำยาเป็นชุดๆตามอาการ ก็ยังขายยาได้
หรือการที่พาลูกไปพบหมอที่คลินิก
แล้วแจ้งความจำนง หรืออะไรก็แล้วแต่
ก็จะได้รับยาปฏิชีวนะมาอย่างง่ายดาย
ด้วยเหตุผลที่ว่า “กินกันไว้ก่อน”
.
สำหรับคนเป็นหมอ
เรื่องการจ่ายยาปฏิชีวนะในเด็ก
ถ้าตรวจพบแหล่งโรคชัดเจน
เช่น พบว่ามีหนองที่ต่อมทอนซิล
มีภาวะติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
มีภาวะปอดอักเสบในเด็กเล็ก
ข้อนี้มีข้อบ่งชี้ชัดเจน ทุกคนที่จบ พบ.มาได้ คงต้องให้
.
แต่มันมีบางภาวะที่ขึ้นกับ วิจารณญาณของแพทย์
ดังนั้น การที่เด็กจะได้รับยาปฏิชีวนะ
ก็ควรจะต้องมีคำอธิบาย...ถึงข้อบ่งชี้
หมอต้องยอมรับเลยว่า ในประเทศเรา
มีผู้ป่วยเด็กจำนวนมาก
ได้รับยาปฏิชีวนะโดยไม่มีข้อบ่งชี้
เพราะเด็ก เป็นคนไข้ที่บอบบาง
ทั้งในสายตาแพทย์ และสายตาของพ่อแม่
ความกังวลก็ทำให้เกิด... overacting ตามมา
แต่จุดสำคัญที่ทำให้ประเทศเรา ใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ
หมอคิดว่า มีเรื่อง อุปสงค์ อุปทาน เข้ามาเกี่ยวข้องมากๆ
เพราะมีความต้องการ..ความอยากได้
(ที่มาพร้อมกับความไม่รู้ หรือรู้ไม่หมด)
จึงได้เกิดอุปทาน
.
หมอคิดว่า การที่เราจะลดการได้รับยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นในเด็กได้
ต้องเริ่มจากความเข้าใจของพ่อแม่ก่อน
ถ้าผู้ปกครองรู้ว่า ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่คำตอบของการเจ็บป่วยทุกอย่าง
เค้าจะได้ไม่ต้องกังวลว่าลูกป่วยแล้ว
“ทำไมหมอไม่ให้ยาฆ่าเชื้อ??”
.
ขอสรุปใจความสำคัญอีกทีนะคะ
- ยาปฏิชีวนะ = ยาฆ่าเชื้อ = ยาแก้อักเสบ มีเอาไว้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น
โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น หวัด การกินยา ไม่ได้ช่วยอะไร
หนำซ้ำยังไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียตัวดีในร่างกายอีก
- การที่คอแดง หรือ น้ำมูกเขียว ไม่ใช่ ตัวบ่งชี้ว่าติดเชื้อแบคทีเรีย
ไวรัสเองก็ทำให้คอแดง และน้ำมูกเขียวได้เหมือนกัน
แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ การติดเชื้อไวรัส อาการทั่วไปของผู้ป่วยจะดีขึ้นตามลำดับ
อาจจะหนักแค่ 3-4 วันแรก
แต่ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม จากที่ดีขึ้น อาการจะทรุดลง
แต่สิ่งนี้พาไปพบแพทย์เพื่อตรวจซ้ำจะดีกว่าค่ะ
- หมอที่ไม่จ่ายยาปฏิชีวนะ...ไม่ใช่ว่าหมอไม่เก่ง ไม่ดี
ในทางกลับกัน ถ้าแพทย์จ่ายยาปฏิขีวนะให้ลูก
ควรได้รับเหตุผลว่ามีข้อบ่งชี้ในการให้ยา คืออะไร เพราะอะไร
ต้องกินติดต่อกันนานกี่วัน...ถามเลยค่ะ
หมอแต่ละคนนิสัยไม่เหมือนกัน บางคนไม่ได้พูดเอง แต่รอให้ถาม บางคนชอบอธิบาย
(หมอเคยเจอหนักที่สุด ตอนไปตรวจ รพ. เอกชน แห่งหนึ่ง คือ
ไม่จ่ายยาฆ่าเชื้อ เพราะผู้ป่วยเป็นหวัด เพิ่งป่วยมาวันแรก
ตอนในห้องตรวจอธิบายคุณแม่ไปแล้ว..แต่พอไปถึงห้องยา
คุณแม่บอกเภสัชกรว่า ถ้าไม่จ่ายยาฆ่าเชื้อ จะมาหาหมอทำไม
ไปซื้อร้านขายยาหน้าปากซอยก็ได้...หมอไม่ได้โกรธคุณแม่นะคะ
แม่ทุกคนเค้าแค่เป็นห่วงลูก อยากให้หายเร็วๆ เค้าเพียงแต่ไม่รู้
หรือ ไม่เชื่อ ว่ากินพร่ำเพรื่อก็มีผลเสีย)
- เวลาไปซื้อยากินเองตามร้านขายยา...สำหรับยาในเด็กเด็กนะคะ
หมอแนะนำว่า ให้ซื้อยาในกลุ่มบรรเทาอาการ
แต่สำหรับยาปฏิชีวนะ ควรจะต้องเป็นคำสั่งจากแพทย์
เพราะไม่ใช่แค่ว่า ติดเชื้อนี้ได้ยาตัวนี้
แต่มันมีรายละเอียดว่าจะต้องกินต่อเนื่องกันกี่วันด้วยค่ะ
.
หวังว่าบทความนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ
หมอเพียงพูดข้อมูลรวมๆเท่านั้น
เพราะแน่นอน...เด็กที่ควรได้รับยาปฏิชีวนะอย่างเร็วก็มีอยู่
แต่สิ่งเดียวที่หมอหวังจากบทความนี้คือ
ขอให้ผู้ปกครองเข้าใจว่า ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่ยาวิเศษ
มีข้อบ่งชี้ มีข้อดี ข้อเสีย
และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล
เป็นความรับผิดชอบของทุกคน
เพราะเราจะได้ช่วยชลอการเกิดเชื้อดื้อยาค่ะ
.
หมอแพม
ปล.ขอใช้การ์ตูนเรื่องโปรดเป็นสื่ออีกครั้ง
จะเห็นว่า ภูมิคุ้มกันของเราเองยังต้องเรียนเรื่องนี้
ดังนั้น เราก็อย่าให้แพ้เม็ดเลือดขาวของตัวเองนะคะ
เราต้องรู้ว่า แบคทีเรียก็มีที่ดีเหมือนกัน ไม่ทำร้ายเค้าโดยไม่จำเป็นนะคะ
ยาปฏิชีวนะ แบคทีเรีย 在 รามาแชนแนล Rama Channel - ยาฆ่าเชื้อไม่ใช่ยาแก้อักเสบ ... 的推薦與評價
หากแพ้ยาไม่มาก อาจมีอาการแค่ผื่นคัน แต่หากแพ้รุนแรง ผิวหนังจะไหม้หรืออาจเสียชีวิตได้ 2. ยาปฏิชีวนะจะฆ่าทั้งแบคทีเรียก่อโรคและแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ ... ... <看更多>
ยาปฏิชีวนะ แบคทีเรีย 在 ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้อย่างไร - YouTube 的推薦與評價
ยาปฏิชีวนะ ฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย ได้อย่างไร. 169 views 2 years ago. amr thailand. amr thailand. 74 subscribers. Subscribe. 2. I like this. ... <看更多>